Month: August 2018
แบบทดสอบชีววิทยาบทนําชีววิทยาและสารชีวโมเลกุล
PAT2-ชีววิทยา เรื่อง ตะลุยโจทย์ข้อสอบ
ข้อสอบ PAT2 ชีววิทยา
การย่อยอาหารของสัตว์ ฟองน้ำ คอลลาเซลล์ (collar cell) หรือโคแอนโนไซต์ (choanocyte) เป็นเซลล์ขนาดเล็กคล้าย ปลอกคอ มีแฟลกเจลลัม (flagellum) 1 เส้น ยื่นออกมาจากคอลลาเซลล์ อาหารจำพวกแบคทีเรียและอินทรีย์สารขนาดเล็กที่ปะปนอยู่ในน้ำจะถูกแฟลกเจลลัมโบกพัดอาหารที่มา กับน้ำเข้าไปในปลอกคอแล้วน้ำเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีฟาโกไซโทซีสสร้างเป็น food vacuole แล้วอาหารจะถูกย่อย อะมีโบไซต์ (amoebocyte) เป็นเซลล์ขนาดใหญ่กว่าคอลลาเซลล์ พบทั่วไปบริเวณผนังลำตัวของฟองน้ำสามารถจับอาหารด้วยวิธีฟาโกไซโทซีสสร้างเป็นฟูดแวคิวโอลแล้วย่อย ภายในเซลล์ส่งอาหารที่ย่อยแล้วไปยังเซลล์อื่นๆ ฟองน้ำ เป็นสัตว์หลายเซลล์ ไม่มีเนื้อเยื่อแท้จริงลำตัวมีรูพรุนโดยรอบมีเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร 2 ชนิด คือ ผนังลำตัวด้านใน มีเซลล์ที่มีแฟลกเจลลัมเรียงรายอยู่เซลล์นี้เรียกว่า เซลล์ ปลอกคอ (collar cell) และยังมีเซลล์คล้ายอะมีบาเรียกว่าเซลล์อะมีโบไซต์ (amoebocyte) พบทั่วไปบริเวณผนังลำตัวของฟองน้ำ การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ สัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete digestive tract) จะมีปากและทวารหนักร่วมกัน คือ ทางเข้าของอาหารและทางออกของเสียจะเป็นทางเดียวกัน เช่น ไฮดรา พลานาเรีย ไฮดรา
การย่อยอาหาร (digestion) หมายถึง กระบวนการที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงสภาพของสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ลิพิดที่ร่างกายรับเข้าไปให้อยู่ในรูปของสารอาหารที่มีขนาดเล็ก โดยทำการย่อยด้วยน้ำย่อยอาหาร (digestion engyme) ซึ่งมีทั้งกลไกการย่อยภายในเซลล์และย่อยนอกเซลล์ โมเลกุลของสารที่ย่อยออกมาแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด เพื่อนำไปส่งให้เซลล์ร่างกายใช้ประโยชน์ บางส่วนที่ร่างกายย่อยไม่ได้ก็จะถูกรวบรวมเป็นกากอาหารหรืออุจจาระแล้วขับออกนอกร่างกายทางทวารหนักต่อไป การย่อยอาหารของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์มีมากในแบคทีเรีย เห็ด รา ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยอินทรีย์สารในระบบนิเวศ จะมีการสลายสารอนินทรีย์ต่างๆ ที่เป็นอาหาร โดยปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยสารอาหารภายนอกเซลล์ให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กแล้วดูดซึมเข้าสู่เซลล์ เช่น ขนมปังที่มีราขึ้น ถ้าปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งแป้งส่วนที่ราขึ้น จะค่อยๆ หายไป ในขณะที่รามีปริมาณมากขึ้นจะทำการย่อยสลายแป้งไปใช้ในการเจริญเติบโต การย่อยอาหารของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวไม่มีอวัยวะที่ทำหน้าที่สำหรับย่อยอาหาร ที่มีโมเลกุลเล็กๆ เข้าออกจากเซลล์สู่สิ่งแวดล้อมรอบๆ เซลล์ ด้วยการแพร่ ส่วนอาหารที่มีขนาดใหญ่ไม่สามารถแพร่ ผ่านเข้าสู่เซลล์ได้ ซึ่งจะมีวิธีการนำอาหารเข้าสู่เซลล์แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น อะมีบา (amoeba) นำอาหารเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีฟาโกไซโทซีส โดยใช้เท้าเทียม (pseudopdium) ยื่นล้อมรอบอาหารและวิธีพิโนไซโทซีสด้วยการเว้าของเยื่อหุ้มเซลล์ให้อาหารหลุดเข้าไปเกิดเป็นถุงอาหาร (food vacuole)แล้วทำการย่อยด้วยเอนไซม์ พารามีเซียม (paramecium) ใช้ซีเลียที่อยู่บริเวณช่องปากโบกพัดอาหารเข้าสู่เซลล์อาหารที่ถูกนำเข้าไปในเซลล์จะอยู่ในถุงอาหาร (food vacuole) ซึ่งจะไปรวมกับเอนไซม์ไลโซโซมจะย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กและมีการลำเลียงสารอาหารที่ย่อยได้ไปทั่วเซลล์ ส่วนกากอาหารถูกกำจัดออกนอกเซลล์ โดยฟูดแวคิวโอลจะเคลื่อนเข้าไปใกล้ๆ เซลล์
อาหารบำรุงผิว มะม่วง เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ กับสารต้านอนุมูลอิสระ การกินมะม่วงจะช่วยทำให้ผิวชุ่มชื่นและลดการเกิดสิว แตงกว่า อุดมไปด้วยแร่ธาตุและมีปริมาณน้ำสูง ทำให้แตงกวาเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ดีต่อผิว เราสามารถกินแตงกว่าเพื่อดับความร้อนในร่างกาย และยังช่วยเรื่องความชุ่มชื่นให้ผิว ช่วยทำให้ผิวของเราแข็งแรง อะโวคาโด อุดมไปด้วยกรดไขมันดี ที่ช่วยดูแลผิวของเราให้มีสุขภาพดี พร้อมช่วยขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากผิวของเรายิ่งไปกว่านั้นยังอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ ปลา ปลาที่อุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า 3ซึ่งช่วยรักษาความยืดหยุ่นของผิวทำให้ผิวของเราเนียนเด้ง อวบอิ่ม และยังช่วยให้ผิวสว่างใส มีออร่า แตงโม มีคุณสมบัติคล้ายแตงกวา ซึ่งแตงโมอุดมไปด้วยน้ำถึง 92% ที่เหลือจะเป็นเส้นใยและแร่ธาตุต่างๆที่ช่วยเติมความชุ่มชื่นและต่อต้านการเกิดสิว กระเทียม สารในกระเทียมมีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัส และแบคทีเรียซึ่งหมายความว่าสารเหล่านี้จะช่วยปกป้องผิวของเราจากการเกิดสิวได้อย่างดี นอกจากนั้นกระเทียมยังช่วยขจัดสารพิษต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายได้
เนื้อเยื่อ อวัยวะและระบบของร่างกาย สัตว์และพืชเมื่อแบ่งเซลล์แล้ว เซลล์ที่ได้ใหม่จะมีการรวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) ชนิดต่างๆเนื้อเยื่อชนิดต่าง จะรวมกันเป็นอวัยวะ (organ) และอวัยวะก็รวมกันเป็นระบบ (system) ระบบแต่ละระบบก็ทำหน้าที่เฉพาะลงไป เช่นระบบย่อยอาหาร (digestive system) ระบบเหล่านี้จะรวมกันและประกอบขึ้นเป็นรูปร่างหรือร่างกายของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด (body) 1.เนื้อเยื่อของสัตว์ (animal tissue) จำแนกออกเป็น 1.1 เนื้อเยื่อบุผิว (epithelial tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่บุผิวนอกร่างกาย หรือเป็นผิวของอวัยวะ หรือบุช่องว่างภายในร่างกาย โดยเนื้อเยื่อบุผิวจะเรียวตัวอยู่บนเยื่อรองรับฐาน (basement membrane) และผนังด้านบนของเยื่อบุผิว ไม่ติดต่อกับเนื้อเยื่ออื่นๆ ไม่มีเส้นเลือดมาเลี้ยง ได้รับสารอาหาร แก๊สต่างๆ จากการแพร่ เยื่อบุผิวเมื่อจำแนกตามรูปร่างและการจัดระเบียบของเซลล์ ได้ดังนี้ 1) เยื่อบุผิวเรียงตัวชั้นเดียว (simple epithelium) ประกอบด้วยเซลล์รูปร่าง 3 แบบคือ เซลล์รูปร่างแบนบาง (simple squamous epithelium) เช่น เยื่อบุข้างแก้ม หรือเซลล์รูปเหลี่ยมลูกบาศก์ (dimple vunoifsl rpiyhrlium) เช่น พบที่ท่อของหลอดไต ทำน้ำดี และเซลล์ทรงสูง (simple columnar epithelium) เช่น พบที่ผนังลำไส้เล็ก ทำนำไข่ 2) เยื่อบุผิวเรียงตัวหลายชั้น (stratified epithelium) เป็นเนื้อเยื่อบุผิวที่ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวหลายชั้น ได้แก่ Stratified